iStock-1178117126-care
มารู้จัก

นักบำบัดที่น่ารักที่สุดในโลก

What is

“Therapy Dog” ?

Therapy Dog หรือ สุนัขนักบำบัด เจ้าของฉายา “นักบำบัดที่น่ารักที่สุดในโลก”

Therapy Dog หรือ สุนัขนักบำบัด คือสุนัขที่ได้รับการฝึกโดยเฉพาะจากผู้เชี่ยวชาญพร้อมกับเจ้าของสุนัข เพื่อเป็นผู้ส่งมอบความสุข ความผ่อนคลาย และรอยยิ้ม ช่วยเหลือผู้คนในสถานที่ที่ต้องการ เช่น บ้านพักผู้สูงวัย โรงพยาบาลเด็ก สถานพักฟื้นผู้ป่วย โรงเรียน หรือศูนย์พักฟื้นช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ​ ​

ยามนอกเวลาปฏิบัติงาน สุนัขเหล่านี้จะดูแลเจ้าของ รวมถึงทุกคนในบ้านให้มีความสุขได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยสุนัขและเจ้าของ จะฝึกเตรียมความพร้อมในเรื่องสุขภาพและความสะอาดสำหรับออกปฏิบัติหน้าที่เสมอ​​ ​​

กว่าจะได้เป็น Therapy Dog นั้น สุนัขจะต้องผ่านการทดสอบ ตั้งแต่การทดสอบคุณสมบัติเพื่อเข้ารับการฝึก ไปจนกระทั่งการฝึกเสร็จสิ้น เพื่อผ่านเกณฑ์และได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็น Therapy Dog และสามารถออกไปบำบัดดูแลผู้อื่นได้อย่างเป็นทางการ

สุนัขที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษพร้อมกับเจ้าของ
มอบความรัก ส่งความสุขให้กับผู้คนในสถานที่ต่างๆ

โดยทั่วไป สุนัขที่จะฝึกเพื่อเป็นสุนัขนักบำบัดได้นั้น จะไม่กำหนดสายพันธุ์ หรือขนาด แต่จะมีการกำหนดคุณสมบัติขั้นต้นของสุนัขที่เหมาะสมกับการฝึก อาทิ มีอายุระหว่าง 1.5-7 ปี การเข้าใจคำสั่งพื้นฐานได้ สามารถอยู่ร่วมกับคนแปลกหน้าหรือสุนัขตัวอื่นได้ ว่าง่ายๆคือ เป็นสุนัขที่ชอบเข้าสังคม สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้สามารถนำมาฝึกเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็น "สุนัขนักบำบัด" หรือ "Therapy Dog" ได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

เพราะเขาสามารถทำได้มากกว่า
“การถูกกอด”

จึงทำให้ สุนัขนักบำบัด บำบัดได้ทั้ง

ปู่ ย่า ตา ยาย
คนพิเศษ ผู้พิการ
หรือทุกคนรอบตัว

Who can benefit from

“Therapy Dog” ?

ใครเหมาะได้รับ “การบำบัด” จาก Therapy Dog

สุนัขนักบำบัด หรือ Therapy Dog ที่ได้รับการฝึกพร้อมกับเจ้าของ
จะสามารถดูแลผู้คนได้มากมาย ทุกเพศ ทุกวัย
ตั้งแต่คนในครอบครัว เพื่อน คนรอบตัวทั้งหมดที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือ
และยังสามารถกระจายออกไปดูแลผู้คนในสังคมวงกว้างได้อีกด้วย

ผู้สูงวัย

ทีมสุนัขนักบำบัดสามารถช่วยให้ผู้สูงวัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น
การเข้าสังคม การสื่อสารด้วยวาจา การตื่นตัว ลดความก้าวร้าว
และการต่อต้าน ลดความรู้สึกอ้างว้าง
อยู่อย่างมีความหมาย
และสื่อสารกับผู้ดูแลได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ดูแลผู้สูงวัยมีกำลังใจ มีความหวัง ที่จะช่วยผู้สูงวัยให้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

เด็กพิเศษ หรือเด็กที่ต้องการการเสริมหรือกระตุ้นพัฒนาการ

เช่น ออทิสติค, สมาธิสั้น, cerebral palsy
สุนัขนักบำบัด ปลูกฝังความอ่อนโยนให้เด็ก
กระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน เมื่อใกล้ชิดกัน
เสริมพัฒนาการผ่านการเล่น
ซึ่งแน่นอน สุนัขเป็นเพื่อนเล่นแสนเพลินของเด็กๆ ได้ตลอดวัน

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

ผู้มีภาวะซึมเศร้า

สุนัขนักบำบัด ช่วยเติมเต็มความมั่นใจ
สร้างความรื่นรมย์
ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยโดยไม่มีเงื่อนไข
รับฟังทุกเรื่องโดยไม่ตัดสิน
เป็นผู้ช่วยเปิดประตู ทลายกำแพงหัวใจ ให้ผู้ป่วยได้วางใจ
และเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้แพทย์ฟัง
อย่างสบายใจ

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

ผู้พิการ

เช่น สายตา หู หรือปัญญา สุนัขนักบำบัด คือ
ความอุบอุ่นใจ สร้างรอยยิ้ม
เติมกำลังใจให้ทุกวันของพวกเขา มีความสุขใจยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยฝึกและพัฒนา
การใช้ประสาทส่วนที่บกพร่องไป
เช่น การเดินของคนหูหนวก, การสัมผัสของคนตาบอด
หรือแม้แต่เป็นเพื่อนข้างกาย ของเด็กผู้พิการทางสมอง

ผู้สูงวัย

ทีมสุนัขนักบำบัดสามารถช่วยให้ผู้สูงวัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น
การเข้าสังคม การสื่อสารด้วยวาจา การตื่นตัว ลดความก้าวร้าว
และการต่อต้าน ลดความรู้สึกอ้างว้าง
อยู่อย่างมีความหมาย
และสื่อสารกับผู้ดูแลได้ดียิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ดูแลผู้สูงวัยมีกำลังใจ มีความหวัง ที่จะช่วยผู้สูงวัยให้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้น

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

เด็กพิเศษ หรือเด็กที่ต้องการการเสริมหรือกระตุ้นพัฒนาการ

เช่น ออทิสติค, สมาธิสั้น, cerebral palsy
สุนัขนักบำบัด ปลูกฝังความอ่อนโยนให้เด็ก
กระตุ้นประสาทสัมผัสทุกส่วน เมื่อใกล้ชิดกัน
เสริมพัฒนาการผ่านการเล่น
ซึ่งแน่นอน สุนัขเป็นเพื่อนเล่นแสนเพลินของเด็กๆ ได้ตลอดวัน

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

ผู้มีภาวะซึมเศร้า

สุนัขนักบำบัด ช่วยเติมเต็มความมั่นใจ
สร้างความรื่นรมย์
ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยโดยไม่มีเงื่อนไข
รับฟังทุกเรื่องโดยไม่ตัดสิน
เป็นผู้ช่วยเปิดประตู ทลายกำแพงหัวใจ ให้ผู้ป่วยได้วางใจ
และเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้แพทย์ฟัง
อย่างสบายใจ

หลักสูตรสุนัขนักบำบัด ฝึกสุนัข สุนักบำบัด

ผู้พิการ

เช่น สายตา หู หรือปัญญา สุนัขนักบำบัด คือ
ความอุบอุ่นใจ สร้างรอยยิ้ม
เติมกำลังใจให้ทุกวันของพวกเขา มีความสุขใจยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยฝึกและพัฒนา
การใช้ประสาทส่วนที่บกพร่องไป
เช่น การเดินของคนหูหนวก, การสัมผัสของคนตาบอด
หรือแม้แต่เป็นเพื่อนข้างกาย ของเด็กผู้พิการทางสมอง

เพราะสุนัขคือ…
เพื่อนข้างกายของทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ที่เฝ้ามองอยู่เคียงข้างอย่างสงบในทุกเวลา
เป็นเพื่อนเล่นในทุกเวลา
รับฟังทุกเรื่องราวโดยไม่มีข้อแม้
และมอบกอดอันแนอบอุ่น ในทุกครั้งที่ต้องการ

ความเป็นมา


ของ “สุนัขนักบำบัด”

แนวคิดของการนำสุนัขหรือสัตว์มาช่วยในการบำบัด เริ่มต้นมายาวนานในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยในปี 1860ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ผู้ทุ่มเทให้กับการพยาบาลยุคใหม่ชาวอังกฤษ ค้นพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่ได้ใช้เวลากับสัตว์ตัวเล็ก จะมีความกระวนกระวายลดลง

ในขณะที่นักจิตวิทยาระดับโลกชาวออสเตรียอย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เชื่อว่า สุนัขสัมผัสได้ถึงระดับความเครียดของคนเขาจึงใช้สุนัขสื่อสารกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเล่นกับสุนัขของเขาก่อน เหมือนแง้มประตูให้เกิดความไว้วางใจ จากนั้นเขาจึงเข้ามาพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อรักษาต่อไป

ในยุคทศวรรษที่ 70 แนวคิดของการนำสัตว์มาเป็นผู้ช่วยในการบำบัด ตามโรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพเริ่มเป็นที่สนใจในวงกว้าง จนกระทั่งในปี 1976 อีเลน สมิธ (Elaine Smith) พยาบาลชาวอเมริกัน ขณะทำงานในประเทศอังกฤษ ได้สังเกตเห็นว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เมื่อได้เล่นกับสุนัขบำบัด จึงนำแนวคิดนี้กลับมาใช้ในสถานพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และเริ่มต้นการฝึกสุนัขเพื่อเป็นนักบำบัด

ผลการวิจัยทั้งทางแพทย์และจิตวิทยายืนยันว่า สุนัขสามารถช่วยในการบำบัดได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจิตใจ และอารมณ์ ลดความกังวล ความเครียด อาการซึมเศร้า อีกทั้งช่วยเรื่องของการฝึกเคลื่อนไหวอวัยวะ กายภาพบำบัด ไปจนถึงช่วยให้หัวใจสดใสแข็งแรง ทั้งในกลุ่มเด็กนักเรียน, คนป่วย และผู้สูงวัย

อ่านต่อ: งานวิจัยเรื่องผลของการบำบัดด้วยสัตว์

https://www.uclahealth.org/pac/animal-assisted-therapy

Therapy dog

ต่างจากสุนัขช่วยเหลือ ประเภทอื่นยังไง?

สุนัขที่ทำประโยชน์ให้ผู้คน
ไม่ได้เหมือนกันไปเสียทุกตัว
ในต่างประเทศแบ่งสุนัขที่
ได้รับการฝึกให้ความช่วยเหลือ
รวมไปถึงสิทธิตามกฎหมาย
ของเจ้าสุนัขแตกต่างกัน
แบ่งได้หลัก ๆ 3 ประเภท คือ

Service dog

สุนัขที่ฝึกมาเป็นพิเศษ สำหรับดูแลเจ้าของสุนัขเพียงคนเดียว

ซึ่งเจ้าของจะเป็นผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย และต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นำทางคนตาบอด, ผู้ป่วยลมชัก,  ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้พิการนั่งรถเข็น

สุนัขกลุ่มนี้จะถูกฝึกอย่างเข้มข้นพิเศษตั้งแต่เป็นสุนัขเบบี๋ จนถึงอายุประมาณ 2 ปี เพื่อทำงานเฉพาะกิจ ในการดูแลเจ้าของ อาทิ ช่วยนำทาง ช่วยเปิดประตู กดรับโทรศัพท์ เห่าแจ้งเหตุอาการป่วย ฯลฯ และยังมีประเภทที่ฝึกเพื่อช่วยการทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น สุนัขกู้ภัย สุนัขดมกลิ่น และอีกมากมาย

โดยพวกเขาจะมีเอกสารรับรองเฉพาะ ระบุความสามารถของสุนัขแต่ละตัวในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ดูแลแต่ละประเภทโดยชัดเจน 

Emotional support dog

สุนัขประเภทนี้จะทำหน้าที่ดูแลและอยู่เคียงข้างเจ้าของ

ซึ่งเป็นผู้เจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ

อาจจะไม่ได้รับการฝึกทักษะด้านใดเป็นพิเศษ

แต่มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ เป็นผู้ให้ความรัก ความอุ่นใจ

เป็นเพื่อนข้างกาย ซึ่งตามกฎหมายถือว่า

ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา

 

โดยที่สำคัญคือ จิตแพทย์ในสถานพยาบาล

ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย จะเป็นผู้ออกจดหมาย

รับรองว่าผู้ป่วยท่านนี้ เป็นผู้ป่วยจิตเวชในระดับรุนแรง

และต้องมีสุนัขตัวนี้อยู่ข้างกายตลอดเวลา

เพื่อให้สุนัขสามารถติดตามไปในที่ต้องห้ามได้

เช่น ร้านอาหาร หรือ บนเครื่องบิน เป็นต้น.

สุนัขตัวนั้นจึงจะมีหน้าที่เป็น Emotional Support Dog

Therapy dog

สุนัขที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษพร้อมกับเจ้าของ มีหน้าที่หลักคือ สร้างความสุข มอบรอยยิ้ม ความผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้อื่น ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลเด็ก บ้านพักผู้สูงวัย สถานพักฟื้นผู้ป่วย สถานดูแลผู้พิการ หรือ สถานที่ต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ

โดยทีม Therapy Dog ซึ่งหมายถึงเจ้าของและสุนัข จะได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญ  ผ่านการทดสอบ และได้รับประกาศนียบัตร  โดยการออกปฏิบัติงาน มักจะทำในรูปแบบของจิตอาสา  จนได้ฉายาว่า “นักบำบัดที่น่ารักที่สุดในโลก” เลยทีเดียว

“ไม่ว่าสุนัขจะทำหน้าที่อะไร เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า
เจ้าสี่ขาที่สุดแสนน่ารักนี้ คือ เพื่อนข้างกายที่ดีที่สุด
รับฟังทุกเรื่องอย่างเข้าอกเข้าใจ ซื่อสัตย์
และที่สำคัญมอบความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขให้กับคุณเสมอ”

Why Thailand should have

“Therapy Dog” ?

เพราะอะไร ประเทศไทย จึงควรมี “สุนัขนักบำบัด”

การใช้ชีวิตของผู้คนในโลกปัจจุบัน
เต็มไปด้วยปัจจัย และสิ่งเร้ามากมายที่กระตุ้นให้
สมดุลในชีวิต ค่อยๆ หายไป
ไม่ว่าจะเป็น การรับสื่อโซเชียลมีเดีย,
การใช้ชีวิตแบบสันโดษ, ภาวะเศรษฐกิจ,
ความเจ็บป่วย ซึ่งได้นำสู่
“ภาวะซึมเศร้า” ทั้งแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว


สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นกับคนทั่วโลก… ไม่เว้นแม้แต่คนไทย

ข้อมูลจากผลการวิจัย
รพ.ศรีมหาโพธิ์ กระทรวงสาธารณสุข
ระบุยอดผู้ป่วยซึมเศร้าสะสม ตั้งแต่ปี 2552 – 2561
มีประมาณ 1.4 ล้านคน แต่มีเพียง 57.6% เท่านั้น
ที่ได้เข้าการรักษา ปลายทางของปัญหานี้
คือการพยายามทำร้ายตัวเอง หรือการฆ่าตัวตาย
ที่น่าตกใจก็คือ ในประเทศไทย เฉลี่ยในทุก 1 ชั่วโมง
มีคนพยายามทำร้ายตัวเองถึง 6 คน

“เปิดมิติใหม่แห่งการบำบัด”
สู่การเป็นเครื่องมือทางเลือกสำหรับแพทย์ เพื่อการดูแลบำบัดผู้ป่วย

หนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จ

ของโครงการสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยที่ผ่านมา คือ

การนำทีมสุนัขนักบำบัด เข้าบำบัดผู้ป่วยจิตเวช

ณ โรงพยาบาลศรีธัญญา

เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และของโรงพยาบาล

ทีมแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการบำบัด

โดยมีทีมงานของสุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบการบำบัด

และจับคู่ทีมสุนัขนักบำบัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละเคส   

 

ผลของกิจกรรมบำบัดด้วยการใช้สุนัขกับผู้ป่วย  เป็นที่น่าพอใจมาก

สำหรับผู้เชี่ยวชาญฝั่งแพทย์ เนื่องจากสามารถทำให้เห็นผลลัพธ์

การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยในทางบวกได้แบบทันทีทันใด  

นี่คือก้าวแรกที่สำคัญ

สู่การเป็นเครื่องมือทางเลือกสำหรับการดูแลบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า

ซึ่งเป็นอาการพื้นฐานของผู้ป่วยในหลากหลายกลุ่ม

ที่ปิดกั้นการบำบัดและรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ 

 

นอกจากนี้ ทีมสุนัขนักบำบัด ยังสามารถสร้างกิจกรรมบำบัดที่หลากหลาย

เพื่อสร้างความสุข คลายความกังวล ให้แก่ผู้คนในกลุ่มอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ตั้งแต่ผู้สูงอายุ ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางการได้ยิน

และเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่าง ๆ ด้วย

“มิติชุมชน”
เพิ่มความสุขรอบตัว สร้างคุณค่าแก่สุนัข

การอบรมมุ่งเน้นการสร้าง

ความสัมพันธ์ระหว่าง

เจ้าของสุนัขและสุนัขเป็นพื้นฐาน

เมื่อเจ้าของเข้าใจสุนัขมากขึ้น

ก็จะทำให้มีความสุขกับการอยู่ร่วมกับสุนัขมากขึ้น

 

ปัญหาการทอดทิ้งสุนัขก็ลดลง

สุนัขจรจัดก็จะเป็นสุนัขที่มีคุณค่ามากขึ้น

หากเรารู้จักวิธีการอยู่ร่วมกัน

นอกจากนั้นยังทำให้เจ้าของสุนัขได้มีความรู้

ความเข้าใจ ในการนำสุนัขมาดูแลคนในครอบครัว

ผู้ใกล้ชิด เพื่อสร้างความรักและ

ความสุขภายในบ้านได้เป็นอย่างดี

“มิติของประเทศ”

เพิ่มมวลความสุขโดยรวม

สถิติผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในไทยสูงขึ้นเรื่อย ๆ

คนรอบตัวเรามีภาวะซึมเศร้า หลายคนเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ

ไม่ยอมรับหรือไม่กล้าเข้ารับ

การรักษาและเยียวยา หรือ เอื้อมไม่ถึง

 

คงจะดี… หากธรรมชาติอันแท้จริงของ “สุนัข”

สัตว์เลี้ยงใกล้ชิดคนไทยเรามากที่สุด

สามารถเป็นเครื่องมือสร้างความสุขรอยยิ้ม

บรรเทาความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้

ตัวเลขเหล่านี้ ก็คงจะน้อยลง

 

“สุนัขนักบำบัด”

ได้ทำหน้าที่เยียวยา รักษา  บำบัดผู้คน

มาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 19 จนถึงวันนี้….

มีสถาบันที่ฝึกสอนสุนัขนักบำบัด

ตามเมืองใหญ่ทั่วโลก และมีโรงพยาบาล

สถานฟื้นฟูสถานกายภาพ สถานดูแลผู้พิการและ

ผู้สูงอายุมากมายให้การยอมรับและยกย่อง

“สุนัขนักบำบัด” ว่าได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือ

ผู้ที่เจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ ผู้พิการ

ผู้เข้ารับกายภาพบำบัดผู้ที่ต้องการความรักและกำลังใจ

ให้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ

และชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น

ถึงเวลาแล้ว ที่ประเทศไทยจะมี “ทีมสุนัขนักบำบัด”

เพื่อช่วยมอบความรัก ความสุข กำลังใจ ให้กับคนไทย

ออกทำประโยชน์แก่สังคม สร้างสรรค์ความสุข และรอยยิ้มแก่ผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืน

เพราะเราเชื่อว่า
“ทุกคนควรมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข”
therapy dog thailand สุนัขนักบำบัด
News

กิจกรรม Pawsitive Doctor การนำสุนัขที่บ้านมาบำบัดคนในครอบครัว

ที่มาแจกความน่ารักสดใส🌻 และโชว์ความสามารถพิเศษในฐานะสุนัขนักบำบัด
ที่หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

Read More »